วันศุกร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

DIY หลอดไฟแอลอีดี




พิกัดแอลอีดี กรีนเพาเวอร์ 
Latitude:  18.6013260483742 N
Longitude:  99.0171613264829 E



โชว์ผลงาน... DIY เล็กๆ น้อยๆ พอเป็นไอเดีย สามารถประยุกต์ได้มากมายหลากหลาย แล้วแต่ความต้องการของแต่ละคน

ติดท้องรถ Yamaha TW200

ผสม แดง-น้ำเงิน ให้สีออกม่วงๆ 





แนะนำอุปกรณ์

1. เลนส์ มีให้เลือกหลายขนาด เช่น 15, 60, 120 องศา

High power LED, มี 1W, 3W สีขาว น้ำเงิน แดง เขียว เหลือง

 Silicone plaster: เอาไว้ติด LED กับแผ่นระบายความร้อน

LED driver 1W * 4, input 220Vac (ใช้กับไฟบ้าน)

แผ่น PCB base aluminium: เอาไว้บัดกรีหลอด LED 

LED driver 1W*7,  12V

LED driver 1W*3,  12V

ตัวอย่างการต่อ: การต่อ 1W, 1 หลอด กับ แบตเตอรี่ 9 V

ก่อนเปิด 

หลังเปิด


การต่อหลอด LED ขอยกตัวอย่าง 3 ตัวอย่าง

1. การต่อโดยใช้ LED DRIVER 1W * 4


สเปค
- ไฟเข้า 110 - 270 โวลท์ AC (สายสี ขาว-ขาว)
- ไฟออก 12 - 24 โวลท์ DC, กระแส 300 mA (สายสี แดง +, ขาว -)



2. การต่อโดยใช้ DRIVER 1W*3


สเปค
1. ไฟเข้า 5-30 Vdc/Vac (ต่อสลับขั้วไหนก็ได้)
2. กระแส 300 mA
วงจร

ตัวอย่างการต่อ



3. การต่อแบบใช้ Resistor (ตัวต้านทาน) จำกัดกระแส
สิ่งที่ต้องรู้ก่อนการต่อคือ...
1. แรงดัน และ กระแสของหลอด
2. แรงดันที่จะจ่ายให้กับหลอด

เช่น จะต่อไฟ 12Vdc ให้กับหลอด LED สีขาว 1W = 1 หลอด (กระแส และ แรงดันของ LED แต่ละสีไม่เท่ากัน ต้องดู datasheet ก่อนนะจ๊ะ)

สเปค LED สีขาว VF = 3.2 V, IF = 350 mA
- แรงดันที่ตกคร่อม LED = 3.2 V
- แรงดันที่ตกคร่อม resistor = 12V - 3.2V = 8.8 V
- ค่าความต้านทานที่เหมาะสม = E/I = 8.8V/0.35A = 25 โอห์ม
- วัตต์ของตัวต้านทานอย่างน้อย = E*I = 8.8V * 0.35A = 3 วัตต์

สรุป ต้องใช้ตัวต้านทานขนาด 25 โอห์ม 3-5 วัตต์ ต่อ อนุกรมกับหลอด LED ขนาด 1 วัตต์ สีขาว เมื่อใช้กับแหล่งจ่ายไฟกระแสตรง 12 โวลท์ ดังรูป...


สำหรับความคิดเห็นของผม แบบที่ 2 สะดวกที่สุดสำหรับงาน DIY, แบบที่ 1 เหมาะสำหรับต่อใช้งานในบ้าน และ แบบที่สามสำหรับผู้ที่พอมีพื้นฐานทางอิเล็กทรอนิกส์อยู่บ้าง ครับ

16 สิงหาคม 2556...
วันนี้มี DIY มาบันทึกเก็บไว้อีกหนึ่งรายการคือไฟจักรยาน ใช้หลอดสีขาว กับ สีแดง 1 วัตต์ มีสวิตช์ 2 ตัวเพื่อเลือกเปิดสีขาว หรือ สีขาวกับแดงพร้อมกัน ใช้ driver 1W*3 และ แบตเตอรี่ 9 โวลท์

 เจาะกล่องพลาสติก ใส่เลนส์ ไม่ต้องใส่แผ่นระบายความร้อนก็ได้ เพราะแค่อุ่นๆ

 ฐานยึดก็ยืมจากกระดิ่งมา 5555
 หน้าตาเมื่อประกอบเสร็จแล้ว
 การทดสอบสีขาว
 สีขาว + แดง ออกเป็นสีชมพูเลย
 สาเตุที่มีสีแดงด้วยเพราะสีแดงจะเห็นชัดและไกลกว่า ทำให้ปลอดภัยในเส้นทางที่รถยนต์ที่วิ่งผ่านใช้ความเร็วสูง...

โปรเจคหน้ากะว่าจะทำหลอดไฟใช้ในบ้าน... ครับ
*********************************************************************************
23 August 13

ทำโคมไฟอ่านหนังสือ

แผ่นระบายความร้อน 
 ต่อวงจร LED 1x4W กับ Driver 220V
 อุปกรณณ์ถอดมจากโคมเก่าที่เสียแล้ว
 ทำท่อ ท่อนกลางด้วยไม้เจาะรู
 พ่นสีแผ่นระบายความร้อน
 ประกอบ
 สำเร็จ....







 ทดลองใช้งาน... ไม่เลวเลยทีเดียว

*********************************************************************************
16 November 13 

ทำโคมไฟ 12V/12W โดยใช้ LED high power 3W 4 หลอด ง่ายๆใช้กัน
ผมมีแผ่นระบายความร้อนเก่า ไม่ได้ใช้ก็เลยจัดการเลย
 วาง led แล้วทำเครื่องหมายเพื่อเจาะรู
 เครื่องมือพร้อม ก็ไม่ต้องรอช้า
 เจาะโดยใช้ดอก 2.5 เพื่อที่จะต๊าบ M3
การต๊าบเกรียว
 ทาชิลิโคน ระบายความร้อน
 ยึดสกรู M3

 ใส่เลนส์ 120 องศา
 ทดลอง... พร้อมติดตั้ง 55555

*********************************************************************************
27 November 2013

โปรเจคนี้เริ่มพัฒนาขึ้นหน่อย คือ มีโจทย์อยู่ว่า อยากได้หลอดไฟที่มี Sensor ตรวจจับความเครื่อนไหว... ตรวจจับแสงสว่าง เพื่อควบคุมการปิดเปิดหลอดไฟ และ ยิ่งไปกว่านั้นยังทำงานเป็นระบบความปลอดภัย ด้วยการกระพริบของหลอดและบัชเซอร์ เตือนเมื่อมีผู้บุกรุกมาในบริเวณตรวจจับ
การเริ่มต้น...
1. การออกแบบวงจร ผมแยกออกเป็นสามส่วน ส่วนแรกคือวงจรตรวจจับความเครื่อนไหว ส่วนที่สองคือตรวจจับแสง และ สุดท้ายคือไมโครคอนโทรลเลอร์



2. การเขียนโค๊ด โปรแกรมที่ผมทดลองเขียนคือ mikroC pro สำหรับ PIC และ 8051... ทำความเข้าใจ และ ลองผิดลองถูกอยู่หลายวัน



3. การจำลองการทำงานของโปรแกรม ผมใช้ Proteus ก็ไม่ยากเท่าไหร่ครับ ซื้อหนังสือมาอ่านละเอียดดี ทำตามได้


4. การทำ PCB ตามแบบฉบับ DIY

ปริ้นลายวงจรที่เราออกแบบในกระดาษ 

นำไปรีดด้วยเตารีด ให้ติดกับ PCB, ดึงกระดาษออกแล้วลายวงจรจะติดกับทองแดง, นำไปแช่ในกรดกัดปริ้นแล้วเขย่าประมาณครึ่งชั่วโมง ก็จะได้ลายวงจรดังในรูป 

 คมใช้ได้ 5555..... ในรูปนี้เป็นเวอร์ชั่นสอง ที่จะใช้ PIC12F675 ควบคุม

ลงอุปกรณ์แล้ว ดูมีราคาขึ้น


การทดลอง เวอร์ชั่นแรก...
 PIR บอร์ดเขียวเป็นของจีน ผมตัดเอาวงจรควบคุมเดิมออก เพื่อจะเอาตัว PIR แล้วใส่บอร์ดคอนโทรลที่ออกแบบใหม่เข้าไปแทน ซึ่งเวอร์ชั่นแรกนี้ผมใช้ MCS-2051 ควบคุม ข้อดีของมันคือ  I/O เหลือเฟือสำหรับงานนี้ใช้ในการเพิ่มลูกเล่นต่างๆ แต่มันไม่มี A to D ในตัว ...ซึ่งผมอยากจะใช้ในการปรับความเร็วของการกระพริบ 

 รูปด้านหน้า

 ยังคงอาศัยกล่องของเดิม เพราะ เราไม่ต้องออกแบบใหม่ สะดวกกว่า (เปลืองเงิน)

 ต่อวงจรทดลองการทำงานจริง... จะสังเกตุว่าผมใช้หลอด LED ซึ่งใช้กับไปตรงขนาด 12 V ซึ่งรับประกันถึงความปลอดภัย และ ประหยัดโครตๆๆ

สำมะเร็จ... ที่เหลือก็แค่ทำให้สวยงาม...


งาน DIY เล็กๆๆของผม 
โดย... ถึกธนูทอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น